เรื่องเล่าขานพ่อแก่ หรือ บางท่านเรียกพระฤๅษี

พ่อแก่ หรือ บางท่านเรียกพระฤๅษีตามตำนานของพระฤๅษีได้จัดแบ่งแยกเอาไว้เป็นชั้น ๆ รวมทั้งหมด ๓ ชั้น ซึ่งแตกต่างไม่เป็นคนละเรื่องเกี่ยวกับประวัติพ่อแก่

                ๑.  ชั้นดิน   ๒.  ชั้นเทพ   ๓.  ชั้นพรหม  ซึ่งก็จะแยกกันออกไปอีก ๔ ประเภท  ตามจุดมุ่งหมายที่ไม่เหมือนกันดังนี้
                ๑.  พระพรหมฤๅษี  เรียกว่า  พรหมรรษี  มีการปฏิบัติเพียงพอ จึงได้บังเกิดเป็นพระพรหมบางความเชื่อกล่าวว่าพ่อแก่ คือพระฤๅษีชั้นพรหม
                ๒.  เทพฤๅษี  เรียกว่า  เทวรรษี  ผู้ที่มีฤทธิ์มีอำนาจจากการปฏิบัติ จึงเกิดเป็นเทพ
                ๓.  เจ้าฤๅษี  เรียกว่า  ราชรรษี  ผู้ที่มีฐานะและความเป็นอยู่ตามพื้นดินธรรมดา
                ๔.  มหาฤๅษี  เรียกว่า  มหรรษี  ผู้ที่มีภูมิปัญญาคาถาอาคมและบารมีสูงมาก

                ครับ รวมทั้ง ๔ อย่างดังกล่าวนี้ ก็ล้วนแล้วแต่การกระทำในความมุ่งมั่นและตั้งใจในการปฏิบัติ  ได้เท่าใดผลรับก็จะช่วยส่งผลบุญและก็จะได้บันดาลให้ถึงขั้นนั้น ๆ แล้วแต่ภูมิธรรมของผู้ใดที่จะช่วยส่งผลอันประเสริฐ ที่จะได้บังเกิดขึ้นมา ก็เนื่องจากการบำเพ็ญตบะบารมี มากน้อยเพียงใดแต่ในทางตำราของชาวจีน เขามักจะเรียกพระฤๅษีว่าเซียนเหย่งเซียนเต๋า จึงจะตีให้เป็นความหมายออกมาได้ว่า
เป็นผู้ซึ่งไม่มีการตาย  และในการจัดแบ่งชั้นของทางชาวจีนก็ยังจัดแยกออกไป ๕ พวกอีก             
                ๑.  กุ้ยเซียน  แปลว่า  เปรตฤๅษี จะเที่ยวเร่ร่อนในรูปแบบของสัมภเวสีหรืออสูรกาย
                ๒.  ตี้เซียน  แปลว่า  ภูมิฤๅษี  อาศัยอยู่ตามหลืบ ตามซอกเขาและในถ้ำต่าง ๆ ทั่วไป
                ๓.  เหย่งเซียน  แปลว่า  นรฤๅษี  มักจะอาศัยจำศีลภาวนาบำเพ็ญตบะอยู่ในหมู่มนุษย์
                ๔.  เซียนเซียน  แปลว่า  บุรษฤาษี  ก็ไม่มีที่อยู่และที่อาศัยเป็นหลักแหล่งมักจะเที่ยวไปในอากาศ
                ๕.  เถียนเซียน  แปลว่า  เทพฤๅษี  ส่วนใหญ่มักจะบำเพ็ญตบะอยู่โดยรอบ ๆ เขาพระสุเมรุ

                สำหรับตามชั้นของพระฤๅษีตามคำที่ใช้เรียกกัน ก็ยังมีการแยกระดับออกไปอีก  มีความจำเป็นและสำคัญยิ่งที่ข้าพเจ้าจะต้องอธิบาย และก็หวังว่าคงจะต้องเป็นประโยชน์อย่างแน่นอน ก็คือ รายชื่อของพระฤๅษีหรือ พ่อแก่ที่ได้แบ่งแยกออกไป๘ อย่าง ดังนี้คือ
                ๑.  สิทธา                              ๒.  โยคี                 ๓.  มุนี
                ๔.  ดาบส                              ๕.  ชฎิล                                ๖.  นักสิทธิ์
                ๗.  นักพรต                          ๘.  พราหมณ์
รวมแล้วทั้ง ๘ นามนี้ เมื่อจะนำเอาเข้ามารวมกันแล้วผลที่ปรากฏแน่ชัดออกมาก็คือ ผู้ทรงศีล  ผู้ที่มีความมุ่งหวังตั้งใจบำเพ็ญเพียรในตบะบารมี มุ่งหวังในความสำเร็จด้วยกันทั้งนั้น และในคำที่เรียกว่าสำเร็จนี้ บางทีท่านผู้อ่านก็อาจจะมีความสงสัยกันอีก คือถ้าหากว่าเป็นการสำเร็จบรรลุตามเป้าหมายในโสดาบันหรือโสดาปัตติผล ก็จะต้องมีทิพญาณและจุกษุญาณอยู่ในชั้นแต่ละชั้น ก็จะได้สิทธิ์และมีโอกาสที่จะได้ขึ้นไปเกิดบนพรหมโลก เป็นพรหมที่แสน สุขหมดสิ้นทุกข์ไปจากโลกภายนอก และถึงกระนั้นเมื่อได้ขึ้นไปเกิดในพรหมโลกเป็นพระพรหมได้สำเร็จแล้ว ก็ยังจะต้องบำเพ็ญตบะต่อไปอีกเพื่อที่จะให้ชั้นภูมิของตนในการปฏิบัตินั้นสูงขึ้นไปอีก พ่อแก่ฤๅษี108ตนในบรรดาองค์พระฤๅษีที่มีชื่อเรียกที่แยกกันออกไปก็ยังเห็นว่าพอจะมีความหมายที่แตกต่างกันออกไปอีก

(credit: เนื้อหาหนังสือตำนานพระฤาษี อ. ว.จีนประดิษฐ์)

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ข้อห้าม เพื่อความเป็นสิริมงคล สำหรับผู้ที่บูชาพ่อแก่หรือปู่ฤๅษี

วิธีการจัดตั้งหิ้งบูชาพ่อแก่ ที่หลักตามพิธีกรรม

อภินิหารพ่อแก่ เรื่องเล่าที่สืบต่อกันมา เรื่องเล่าและความเป็นมา